งานสตรีทอาร์ต สกรีนแบบไหนดี ถึงจะเก็บรายละเอียดได้ครบ ?

งานสตรีทอาร์ต สกรีนแบบไหนดี

ถึงจะเก็บรายละเอียดได้ครบ ?

     งานสตรีตอาร์ต เป็นชื่อที่หมายรวมถึงศิลปะที่รายล้อมอยู่ในความเป็นชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม รอบตัว โดยได้รับการพัฒนามาจากกราฟฟิตีที่เริ่มทำงานโดยการเพ้นท์รถไฟในเมืองนิวยอร์ก ในปี 1970 ช่วงที่มี การเคลื่อนไหวและสังคมแบบใต้ดิน การเมือง การเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยช่วงเวลานี้เราเรียกว่า โพสท์ กราฟฟิตี (Post-Graffiti) ศิลปินจำนวนมากพยามที่จะนำเสนอผลงานของตัวเองตามท้องถนน กำแพง หรือทุกๆ ที่พวกเขาสามารถจะทำได้ เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ นำเสนอพลังแห่งการสร้างสรรค์ กำแพงเปรียบได้กับหอศิลป์ขนาดยักษ์ที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างไม่ยากเย็น

 

     ปัจจุบันเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นโดยสตรีตอาร์ตมากที่สุดในประเทศไทย คือ เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน โดยที่สตรีตอาร์ตจะทำหน้าที่ในการสื่อสารคุณค่าทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายในหมู่นักท่องเที่ยวยุคใหม่ เนื่องจากสื่อภาพมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะจับความสนใจของผู้คนในฐานะประสบการณ์ที่เข้าใกล้ได้ สัมผัสได้ และเข้าถึงได้ง่ายกว่าโบราณวัตถุหรือสถาปัตยกรรมหลายพื้นที่ในประเทศไทยจึงมีการใช้สตรีตอาร์ตเข้าไปเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ เพื่อให้เกิดผลพลอยได้ด้านการท่องเที่ยว

 

     บอกต่อทริค(ไม่)ลับ

     สกรีนที่ตอบโจทย์ เก็บทุกรายละเอียดของงานแนวสตรีทอาร์ตได้ก็คือ “สกรีน DFT” เพราะไม่ว่าลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากัน เพราะคิดเป็นขนาด ทำให้รังสรรค์ลายได้อย่างเต็มที่ไม่มีข้อจำกัดทางสีแม้แต่น้อย
 

     สำหรับ DFT ( Digital Film Transfer )

     จะพิมพ์หมึก น้ำเงิน แดง เหลือง ดำ ( C M Y K ) และ ขาว ( W ) ลงบนฟิล์ม ซึ่งเป็นฟิล์มใสเปล่าๆ ซึ่งราคาต้นทุนถูกมาก เมื่อพิมพ์นำหมึกลงไปบนฟิล์มเรียบร้อยแล้ว ก็ทำงานโรยผงกาว ซึ่งเป็นผงกาวที่ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยตรง เป็นกาวที่ยึดติดกับยึดบนผ้าต่างๆ เมื่อทำการโรยผงกาวเรียบร้อย ก็ทำการอบด้วยความร้อนที่เหมาะสม

 

     เมื่อพิมพ์ฟิล์ม DFT เสร็จเรียบร้อย ก็ถึงกระบวนการรีด เราก็จะนำฟิล์มที่พิมพ์เสร็จนั้นมารีดติดบนเสื้อ ซึ่งใช้ความร้อนประมาณ 170-180 องศาเซลเซียส และ เวลาประมาณ 10-15 วินาที ก็ทำการลอกฟิล์มออก นำหมึกที่เราปริ้นลงบนฟิล์มโดยมีผงกาวโรย และหลอมละลายอยู่ด้านหลังตัวหมึกนั้น ก็ติดยึดลงไปในเนื้อผ้า (เน้นว่า ติดยึดลงไป บนเนื้อผ้า) ไม่ได้ลงไปซึมลึกในเนื้อผ้า

 

     ข้อดีหรือจุดเด่นของ DFT ที่ทำให้เหมาะกับงานสตรีทอาร์ต

     – พิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้ “ทุกเนื้อผ้า” และสกรีนบนเสื้อได้ทุกสี รวมถึงผ้าสีเข้มหรือผ้าดำได้
     – มีกระบวนการเตรียมงานและเครื่องพิมพ์รองพื้นด้วยหมึกขาวก่อน ภาพสวย สกรีนคมชัด
     – พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอัดบล็อคสกรีน
     – ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากได้ภาพเสมือนจริงตามไฟล์ เช่น ภาพคน ภาพวิว มีความคมชัดมาก
     – สามารถใช้รูปถ่ายหรือภาพเหมือนจริงพิมพ์ลายด้วยวิธี DFT ได้ เพราะเป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้
 

     สุดท้ายแล้ว DFT คือเครื่องพิมพ์หมึกสำหรับงานเสื้อ หนัง หรือวัสดุๆอื่น โดยวิธีการนำไปใช้งานคือพิมพ์ลงบนฟิล์มจากนั้นก็นำงานที่เราพิมพ์ทาด้วยผงกาวความร้อนจากนั้นนำไปรีดบนเสื้อชนิดต่างๆ โดยจะรองรับการรีดบยผ้าทุกชนิดและทุกสี สามารถพิมพ์สีขาวได้ดูแลง่ายต้นทุนถูกกว่าระบบอื่นๆและไม่ต้องตัด งานสกรีนบางใส่สบายทนการซักล้างให้สีที่คมชัดสามารถปรับได้ด้วยโปรแกรมควบคุมการพิมพ์

 

     พบกับ TNP บอกต่อ EP.8 ในบทความถัดไปว่าจะเป็นเรื่องน่ารู้อะไรต่อ สำหรับบทความนี้ สวัสดีค่ะ : )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *