ลุงยอมแล้ว
ลุงตู่ยอมประกาศเลื่อนเคอร์ฟิว
นายกเคาะ ‘เลื่อนประกาศเคอร์ฟิว 23.00- 04.00 น.’
เมื่อวันที่ 16 พ.ค 63 นายกรัฐมนตรีอออกคำสั่งจำนวน 2 ฉบับ โดยมีสาระสำคัญคือ
การห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหะสถานระหว่างเวลา 23.00 – 04.00 น. ถือเป็นการเลื่อนเวลาจาก 22.00-04.00 น. จากประกาศเดิมที่ผ่านมา
ศูนย์โควิดฯ มท.
โทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๒๓๐/ว ๒๗๗๖
จาก ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
ด้วยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อกําหนดและคําสั่ง จํานวน ๒ ฉบับ ดังนี้
๑. ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ มีสาระสําคัญ ดังนี้
(๑) การห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๓.00 น. ถึงเวลา ๐๔.00 น. ของวันรุ่งขึ้น และให้ข้อยกเว้นตามข้อกําหนด (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๓ ยังคงใช้บังคับต่อไป
(๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจพิจารณาผ่อนผัน การใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เฉพาะการให้ความช่วยเหลือเด็กกําพร้า เด็กยากไร้ หรือเด็กด้อยโอกาส หรือเพื่อกิจกรรมอันเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยยังคงงดเว้นการใช้เพื่อการจัดการเรียน การสอน การสอบ หรือการฝึกอบรม
(๓) การผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ ภายใต้การดําเนินการ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่างๆ ให้สถานที่หรือ การดําเนินกิจกรรมที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดเคยมีคําสั่งปิดสถานที่ไว้เป็นการ ชั่วคราว ตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ สามารถเปิดดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่าง เพิ่มเติมได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม
(๔) ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตาม (๓) มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรค รวมทั้งจัดระเบียบตามคําแนะนํา เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือที่ทางราชการกําหนด ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ แนะนํา ตักเตือน ห้ามปราม หรือดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย
(๕) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอํานาจตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีคําสั่งปิดสนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามการแข่งขันอื่น ในลักษณะทํานองเดียวกันเพิ่มเติม รวมทั้งดําเนินการอื่นใดให้สอดคล้องกับข้อกําหนดนี้
๒. คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๗/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด – 19) กระทรวงมหาดไทย พิจารณาแล้ว ขอให้จังหวัดดําเนินการ ดังนี้
๑. รับทราบ ถือปฏิบัติ และออกคําสั่ง ตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๗) และคําสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๓/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) โดยเคร่งครัด
ข้อกําหนดฯ ถือเป็นกฎหมายที่ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ไม่ต้องเพิ่มเติมกิจการ/กิจกรรมใดๆ แต่อาจเสริมมาตรการในทางปฏิบัติได้
๒. สร้างการรับรู้ตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด – 19 ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๓/๒๕๖๓ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
๓. หากผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาและมีความเห็นจะดําเนินการอื่นใดต่างไปจากข้อกําหนดฯ ให้รายงานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) กระทรวงมหาดไทย ก่อนดําเนินการ เพื่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด – 19) กระทรวงมหาดไทย จะได้รายงานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการตรวจสอบและให้ทุกส่วนงานของศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ได้รับทราบ เพื่อประสานการปฏิบัติไม่ให้เกิด ความลักลั่นและนําไปสู่การวิพากษ์ว่าส่วนราชการไม่มีการบูรณาการซึ่งกันและกัน รวมทั้ง ไม่ให้เกิดความสับสน ต่อประชาชน และผู้ปฏิบัติงานได้รับความคุ้มครองจากพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
๔. ให้รายงานผลการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค และข้อแนะนําตามแบบที่กําหนด ต่อเนื่อง จากการรายงานตามโทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๒๓o/ว ๒๕๖๗ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ไปยังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) กระทรวงมหาดไทย เป็นประจําทุกวัน ภายในเวลา ๑๖.๐๐ น.