ประวัติ Supreme และจุดพีคที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับแบรนด์นี้!?

ประวัติ Supreme และจุดพีคที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับแบรนด์นี้!?

     ประวัติ Supreme และจุดพีคที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับแบรนด์นี้!? จะเป็นเรื่องอะไร ใครที่ชื่นชอบแบรนด์ดังแบรนด์นี้ บอกเลยว่าจำเป็นต้องรู้โดยด่วน โดยใครที่ชื่นชอบแบรนด์นี้ ก็คงพอรู้ว่า เจมส์ (James Jebbia) คือผู้ก่อตั้งแบรนด์นี้ โดยเขาเป็นชาวอังกฤษนั่นเอง

 

     เรื่องราวก่อนจะมาเป็น Supreme

     เจมส์นั้นเกิดในอเมริกาแต่กลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่อังกฤษ ก่อนที่จะย้ายกลับมาที่อเมริกาอีกครั้งเมื่ออายุ 20 ปี เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นพนักงานร้านเสื้อผ้า Parachute ย่าน SoHo และเปิดแผงขายเสื้อผ้าวินเทจ ที่ตลาดขายของเก่าในย่าน Manhattan ในปี 1983 โดยในขณะนั้นเขามีเพื่อนสนิทที่ทำงานด้วยกันชื่อว่า Eddie Cruz ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์ Undefeated อีกหนึ่งแบรนด์สตรีทเเวร์ชื่อดัง

 

     ในปี 1989 เขาลาออกจากงานเพื่อมาเปิดร้านของตัวเองบนถนน Spring Street ชื่อว่า โดยหนึ่งในแบรนด์ที่ วางจำหน่ายคือ Stussy แบรน์ดังในยุคนั้น ก่อนที่ในปี 1991 เจมส์จะขายกิจการ และไปร่วมงานกับ Stussy อย่างเต็มตัว รวมถึงยังมีส่วนช่วยในการเปิด Stussy NYC อีกด้วย ถึงแม้เจมส์จะไม่ใช่นักสเก็ตบอร์ด แต่ด้วยความที่เขาคลุกคลีอยู่ในวงการนี้ และสนิทสนมกับนักสเก็ตบอร์ดหลายๆคน เขาก็เกิดความคิดที่อยากจะเปิดร้านเสื้อผ้าสำหรับเหล่านักสเก็ตบอร์ดขึ้นมา เพราะตัวเขาเองรู้สึกว่าในยุคนั้นที่อเมริกายังไม่มีแบรนด์สเก็ตบอร์ดที่มีคุณภาพทั้งในแง่ของวัสดุ หรือดีไซน์เหมือนอย่างฝั่งอังกฤษ


     ก้าวขาเข้าสู่ความเป็นแบรนด์ซูพรีม

     จนกระทั่งในปี 1994 เขาได้ไปเจอกับตึกแห่งหนึ่งบนถนน Lafayette ซึ่งในยุคนั้นถนน Lafayette ยังถือว่าค่อนข้างเงียบไม่เหมือนอย่างปัจจุบัน เขาคิดว่าน่าจะเป็นทำเลที่ดีสำหรับเหล่านักเสก็ตบอร์ดทั้งหลาย เขาจึงได้ควักเงินกว่า $12,000 เหรียญ เพื่อลงทุนเช่าที่ รวมถึงสร้างแบรนด์ขึ้นมาโดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “Supreme ที่แปลเป็นไทยได้ว่า “มีอำนาจสูงสุด” หรือ “สำคัญที่สุด” ซึ่งที่มาของชื่อก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่ เจมส์รู้สึกว่าเป็นชื่อที่มีความเท่เพียงเท่านั้นเอง เมื่อแรกเริ่มสินค้าของ Supreme ยังมีเพียงแค่เสื้อยืด โดยออกมาสามลายคือ Box Logo, Afro Skater และ Travis Bickle (Robert De Nero) Box


     โลโก้และความเป็นซูพรีม

     สำหรับในด้านโลโก้นั้น ก็คงเอกลักษณ์ที่ใช้ฟ้อนต์ Futura Heavy Oblique สีขาวบนพื้นสี่เหลี่ยมสีแดงนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะแนว propaganda art ของ Barbara Kruger ที่เน้นการใช้ดีไซน์แบบเดียวกันนี้ในผลงานหลายๆ ชิ้นของเธอ ซึ่งทำให้มันกลายเป็นโลโก้ที่ทรงพลังมากที่สุดโลโก้หนึ่งในวงการ street fashion

 

     แบรนด์ที่ทำมาเพื่อเอาใจ สายสเก็ตบอร์ด..!?

     ร้าน Supreme นั้น ถือได้ว่าเปิดขึ้นมาเพื่อเอาใจชาวสเก็ตบอร์ดโดยเฉพาะ หากสังเกตุกันให้ดีๆ ร้าน Supreme ทุกสาขา จะมีพื้นที่โล่ง ซึ่งตัวเจมส์เองต้องการให้นักสเก็ตบอร์ดสามารถไถสเก็ตบอร์ดเข้ามาในร้านได้เลย หรือแม้กระทั่งพนักงานขายที่เจมส์ก็วางใจให้นักสเก็ตบอร์ดรุ่นใหญ่หลายๆคน เข้ามาดูแลและคัดเลือกพนักงาน อย่างพนักงานคนแรกของ Supreme ก็เป็นนักสเก็ตบอร์ดชื่อดังอย่าง Gio Estevez และ Aaron Bondaroff ตามลำดับ รวมถึงยังก่อตั้ง Supreme Skate Team ที่สนับสนุนนักสเก็ตบอร์ดท้องถิ่นอีกด้วย


     เรื่องพีคๆ ที่ทำให้ Supreme เป็นกระแสมากขึ้น

     ในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตนั้น Supreme เป็นที่รู้จักกันด้วยกระแสปากต่อปาก แต่ก็มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ Supreme เป็นที่รู้จักในวงกว้าง คือการถูกฟ้องโดย Calvin Klein เนื่องจากซูพรีมได้โปรโมทเสริมด้วยสติ๊กเกอร์ Box Logo ที่แจกฟรีให้ลูกค้า ซึ่งทั้งพนักงานร้านและลูกค้าแต่ละคนก็เอาไปติดบนสเกตบอร์ด ของใช้ ป้าย และตามสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุง New York     จนวันหนึ่งที่มีมือดีไปติดสติกเกอร์บนโปสเตอร์โฆษณาของ Calvin Klein เข้า Supreme ก็เลยโดน Calvin Klein ฟ้องร้องและเป็นเรื่องราวใหญ่โต แต่เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนทำกันแน่ Supreme จึงรอดพ้นคดี เรื่องนี้จึงกลายเป็นเรื่องตลกที่ทำให้มีคนพูดถึง Supreme มากขึ้นแทน

 

     แถมยังตอกกลับแบบสุดเจ็บด้วยการ “ออกแบบเสื้อยืดลายเจ้าปัญหา” นี้ในสิบปีให้หลัง เพื่อเป็นการรำลึกครบรอบของแบรนด์ในปี 2004 อีกด้วย


     ความเป็นซูพรีมที่นับเป็นความสำเร็จขั้นสุด

     ความสำเร็จของ Supreme เริ่มจากคุณสมบัติพื้นฐานที่แบรนด์เสื้อผ้าที่ดีควรจะมี นั่นก็คือสไตล์ที่ดูดี ใช้เนื้อผ้าและการตัดเย็บคุณภาพเยี่ยม แต่สิ่งที่ทำให้แบรนด์นี้เหนือกว่านั้นจนเป็นที่ยอมรับก็คือ การไม่ชอบทำอะไรตามกระแส ตามเทรนด์ แต่สร้างเทรนด์ สร้างสไตล์ของตัวเองขึ้นมา

 

     ซึ่งสิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ มีคอนเซ็ปต์ในการออกแบบที่นำเอาเรื่องราวต่างๆ ใน street culture และ pop culture มาใช้ด้วยลูกเล่นที่ minimal ทว่าน่าสนใจ คาดไม่ถึง กล้าแหกกฎ และไม่แคร์ใครหน้าไหน เริ่มตั้งแต่การนำเอา Box Logo ของแบรนด์มาเป็นองค์ประกอบหลัก บางครั้งก็ดัดแปลงเป็นลวดลายต่างๆ สารพัดในหลายๆ คอลเล็คชัน ซึ่งแม้จะดูเรียบง่าย และ minimal สุดๆ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และแม้หลายครั้งที่ดีไซน์แล้วจะอ่านยาก เช่น ใช้แพทเทิร์นที่กลมกลืนกับฟอนท์ ขีดทับ หันโลโก้กลับด้าน จงใจสะกดผิด แม้กระทั่งเปลี่ยนเป็นภาษาฮิบรู หรืออารบิก

 

     แต่ก็ยังพอรู้ว่ามาจากโลโก้อะไร และเสื้อผ้าที่มีลาย Box Logo ก็มักจะขายดีกว่าลายอื่นหลายเท่าตัวเสียด้วย ซึ่งเสื้อลายสกรีนของแบรนด์ซูพรีมต่างๆ นั้น บอกเลยว่าไม่จำเป็นต้องคิดค้นลายอะไรมากมาย แค่มี logo ของแบรนด์ที่คงเอกลักษณ์ไว้เสมอ ก็ทำให้ไม่ว่าจะสินค้าอะไรก็ตาม เพียงมีโลโก้แบรนด์ คนก็พร้อมซื้อ

 

     แล้วคุณล่ะ สร้างความเป็นแบรนด์ ความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้รึยัง ถ้าคิดมาคร่าวๆ พอเป็นรูปเป็นร่างแต่ยังไม่สำเร็จ บอกเลยว่ามาที่เราสิ ธน พลัส 153 เรามีบริการ One Stop Service ที่สามารถช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผ้า เรื่องเทคนิคสกรีน การสร้างแบรนด์ โลโก้ คอนเซปต์ กราฟิก รวมไปถึงการแพ็คสินค้า ไว้ใจเราได้เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *