สีเชื้อน้ำต่างจากสีน้ำมันยังไง ความต่างสีสกรีนที่ผู้ผลิตแบรนด์ควรรู้

สีเชื้อน้ำต่างจากสีน้ำมันยังไง

ความต่างสีสกรีนที่ผู้ผลิตแบรนด์ควรรู้

     สีเชื้อน้ำต่างจากสีน้ำมันยังไง ความต่างสีสกรีน ที่ผู้ผลิตแบรนด์ควรรู้ เรื่องราวในบทความ EP.3 นี้จะเกี่ยวกับ สีเนื้อน้ำ (Water based ink) Vs สีน้ำมัน (Plastisol ink) นั่นเอง

 

     ในเรื่องของ “การสกรีน” ที่ผู้บริโภคและผู้ผลิตเองก็อาจจะยังไม่รู้ จริงๆแล้วการเลือกสกรีนตามความสดใหม่ หรือเทคนิคต่างๆ ก็ดี แต่หากคุณอยากรู้ลึกมากกว่านั้น เรามีบทสรุปสั้นๆ มาให้ด้านล่างนี้

    บอกต่อทริค(ไม่)ลับ

     สีเชื้อน้ำ หรือสียาง
     – ต่างประเทศยอมรับ
     เพราะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เนื่องจากไม่มีน้ำมัน โอกาสติดไฟไม่มี
     – เหมาะกับงานเสื้อเด็ก
     เพราะมีความปลอดภัยตามข้างต้นที่กล่าวไป รับรองว่าเรื่องความปลอดภัยนั้นคือที่สุด
 
     สีน้ำมัน หรือสีพลาสติซอล
     – แนวเสื้อสไตล์ บลูเลค (เสื้อวงดนตรียุคเก่า) นิยมใช้กันอย่างมาก
     – เหมาะกับงานที่มีลายละเอียดสูง คมชัดและสวยมาก
 
 

     ทำความรู้จักกับ สีเชื้อน้ำ หรือสียาง

     : สีสกรีนประเภทนี้จะอาศัยน้ำเป็นตัวละลายเนื้อสี (Pigment) และแป้งพิมพ์ (Print paste) เข้ากันเป็นเนื้อเดียว โดยแป้งพิมพ์ที่เตรียมไว้สำหรับผสมกับสีสกรีนจะมีส่วนผสมของสารยึดเกาะ (Binder) เพื่อช่วยในการยึดติดบนเส้นใยของเสื้อผ้า ทำให้สีซึมเข้าเนื้อผ้าได้ง่าย สกรีนอยู่แน่น และติดทนกว่าสีสกรีนเสื้อแบบอื่น ทั้งนี้สีเชื้อน้ำยังแบ่งออกประเภทย่อยที่คนต่างรู้จักกันเป็น 4 อย่าง คือ สียาง, สีจม, สีลอย และสีนูน
 

     เรื่องของ “สีเชื้อน้ำ” ที่ควรรู้

     การสกรีนแบบสีเชื้อน้ำ จะทำให้สีซึมเข้าเนื้อผ้าได้ง่าย สกรีนอยู่แน่น และติดทนกว่าสีสกรีนเสื้อแบบอื่น ที่สำคัญในเรื่องของความปลอดภัยที่ไม่ได้มีเชื้อน้ำมันมาเจือปน ทำให้เหมาะกับทุกคน ทุกสภาพผิว ทุกเพศ และทุกวัยตามที่กล่าวไปแบบสรุปในข้างต้น
 

     ทำความรู้จักกับ สีน้ำมัน หรือสีพลาสติซอล

     : สกรีนพลาสติซอล สีสกรีน ที่มีความเงางาม สีสดใส สวยงาม เนื้อสัมผัสดี นิยมนำไปสกรีนทั้งบนเสื้อสีอ่อนและสีเข้ม ได้หมดเลยสีประเภทนี้ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักของเนื้อสีผลิตมาจาก PVC และ Plasticizer โดยอาศัยน้ำมันเป็นตัวทำละลาย ใช้ความร้อนเป็นตัวแปรในการอบสีให้แห้ง เมื่อสกรีนลงไปบนผ้าจะไม่ซึมเข้าไปในใยผ้า แต่จะเคลือบอยู่บนเส้นใยผ้า ซึ่งความร้อนตรงส่วนนี้ก็ช่วยทำให้สีสกรีนเสื้อพลาสติซอลนั้นเกิดการยึดติดกับเสื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อดีของสีสกรีนเสื้อชนิดนี้คือสามารถสกรีนลงบนเสื้อได้มากกว่าสีสกรีนเสื้อแบบเชื้อน้ำ หน้าบล็อกสกรีนจะไม่อุดตันระหว่างพิมพ์ และสกรีนได้หลากหลายเทคนิคกว่า แต่ข้อเสียคือขั้นตอนยุ่งยาก และต้องใช้อุปกรณ์หลากหลาย ผู้สกรีนจะต้องมีความประณีตอย่างมากในการสกรีน หากสีเปื้อนมือต้องใช้ทินเนอร์ในการล้างเท่านั้น
 

     เรื่องของ “สีน้ำมัน” ที่ควรรู้

     การสกรีนด้วยสีเชื้อน้ำมัน ข้อดีคือสามารถสกรีนลงบนเสื้อได้มากกว่าสีสกรีนเสื้อแบบเชื้อน้ำ หน้าบล็อกสกรีนจะไม่อุดตันระหว่างพิมพ์ และสกรีนได้หลากหลายเทคนิคกว่า การสกรีนจะมีความหนาออกมาจากเนื้อผ้า มีสีทึบแสงและเงางามไม่ต่างจากสีสกรีนเสื้อแบบยางเท่าไหร่นัก  แต่เนื่องจากสีพลาสติกซอลใช้สารเคมีเป็นองค์ประกอบหลัก ในบางประเทศจึงไม่นิยมใช้ เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการนำเข้าประเทศ 
 
     พบกับ TNP บอกต่อ EP.4 ในบทความถัดไปว่าจะเป็นเรื่องน่ารู้อะไรต่อ สำหรับบทความนี้ สวัสดีค่ะ : )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *