เสื้อยืด ผ้าแบบไหนบ้างที่เหมาะ

เสื้อยืด ผ้าแบบไหนบ้างที่เหมาะ

     เสื้อยืด ควรใช้เนื้อผ้าแบบไหนกันที่จะเหมาะสมแก่การทำแบรนด์ ซึ่งลูกค้าหลายคนก็คงมีสรรพคุณเสื้อในดวงใจ ในบทความนี้เราก็จะมาแนะนำ ผ้าหลากหลายที่เหมาะมากจะนำมาทำ

 

     โดยหลักๆ ชนิดของผ้าจะมี อยู่ 3 แบบ คือ

     1. ผ้าฝ้าย 100%

     2. ผ้าใยสังเคราะห์ 100%

     3. ผ้าผสม

 


 

     โดยแต่ละผ้าก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้

     ผ้า Cotton100% (ผ้าฝ้าย)

     Cotton เป็นเส้นใยธรรมชาติ 100% ผลิตจากฝ้ายสวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม

 

     หลายคนอาจสงสัยว่าเสื้อแต่ละร้านเป็นผ้า cotton 100% เหมือนกัน แต่พอไปจับดูกลับรู้สึกหนานุ่มต่างกัน นั่นเป็นเพราะผ้า cotton ก็มีการแบ่งตามเกรดด้วย โดยแบ่งดังนี้

 

     แบ่งตามประเภทเส้นด้ายที่ทอ

 

     1.1 Cotton OE เกรดต่ำสุด
     ลักษณะของผ้าจะมีความกระด้างมากกว่าผ้า Cotton ชนิดอื่นๆ

 

     1.2 Cotton Semi เกรดปานกลาง
     ผ้าจะมีความเนียน ณ ระดับหนึ่ง ไม่กระด้าง ราคาไม่สูง และ คุณภาพค่อนข้างใช้ได้

 

     1.3 Cotton Comb เกรดดีที่สุด
     ลักษณะผ้าจะมีความเนียนและเงามาก ราคาสูงมากกว่า Cotton เกรดอื่น

 

     แบ่งตามขนาดเส้นด้ายที่ทอ

 

     1.1 Cotton No.20
     เส้นด้ายจะมีขนาดใหญ่สุด ผ้าที่ทอได้จึงหนาพอสมควร

 

     1.2 Cotton No.32
     เส้นด้ายจะมีขนาดเล็ก ผ้าที่ทอได้จะเนียนและบาง

 

     1.3 Cotton No.40
     เส้นด้ายมีขนาดเล็กที่สุด ผ้าที่ทอจึงเนียนมาก และบางมาก จึงต้องทอเป็นเส้นคู่ และราคาจะค่อนข้างสูง

 

     ข้อดีผ้า Cotton100% (ผ้าฝ้าย)

     1. สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี

     2. ผ้านุ่มเนียนสวย

     3. ดูดซับเหงื่อได้ดี

 

     ข้อเสียผ้า Cotton100% (ผ้าฝ้าย)

     1. ผ้าจะหดตัวเมื่อผ่านการซัก

     2. ราคาสูงกว่าผ้าชนิดอื่น

     3. ขึ้นราได้ง่ายถ้าดูแลไม่ดี

 

     ผ้า Cotton 100% ( ผ้าฝ้าย 100% )
     เหมาะกับใช้ทำเสื้อยืดที่ใส่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น

     – เสื้อกีฬา

     – เสื้อไปเที่ยวกับบริษัท

     – เสื้องานกีฬาสี

     เพราะผ้าชนิดนี้จะระบายอากาศได้ดี ดูดซับเหงื่อได้ดี

     – หรือจะเป็น “เสื้อยืดองค์กร” เพราะผ้าชนิดนี้ให้ความรู้สึกหรูหรา เพิ่มมูลค่าให้กับภาพลักษณ์องค์กรได้

 


     ผ้าTK ( #ผ้าใยสังเคราะห์ หรือ Polyester )

     เป็นเส้นใยสังเคราะห์ผลิตจาก #Polyester คุณสมบัติทั่วไป คือ ผ้าจะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตก เสื้อยืดที่ทำจากเนื้อผ้าประเภทนี้จะมีราคาถูกที่สุด

 

     ข้อดีของผ้าทีเค TK

     1. ผ้าอยู่ทรง

     2. ไม่ค่อยยับ

     3. สีไม่ตก

     4. ผ้าไม่หดเมื่อผ่านการซัก

     5. ราคาถูก

 

     ข้อเสียของผ้าทีเค TK

     1. ผ้ากระด้าง

     2. ระบายอากาศได้ไม่ดี

     3. ดูดซับเหงื่อได้น้อย

     4. ผ้าเป็นขุยเมื่อผ่่านการซัก

 

     ผ้า TK ( ผ้า Polyester )
     เหมาะสำหรับทำเสื้อใส่ในห้องแอร์ ไม่ค่อยโดนแดด เหงื่อออกไม่มาก เพราะผ้าชนิดนี้ระบายอากาศได้ไม่ค่อยดี แต่จะมีความอยู่ทรงสวยไม่ยับง่ายๆ เช่น

     – เสื้อยืดพนักงานออฟฟิศ

     – เสื้อสำหรับใส่ออกบูธในห้าง เพราะผ้าชนิดนี้จะสกรีนได้สีสันสดกว่า

 


     ผ้าTC และ ผ้า CVC ( #ผ้าผสมระหว่าง Cotton และ Polyester )

     ผ้าทั้งสองแบบเป็นผ้าผสมระหว่าง Cotton และ Polyester แต่ความต่าง คือ

     ผ้า TC ( Polyester > Cotton ) อัตราส่วน Polyester 65% ผสม Cotton 35%

     ผ้า CVC ( Cotton > Polyester ) อัตราส่วน Cotton 70-85% ผสม Polyester 15-30%

 

     ข้อดีของผ้า TC และ ผ้า CVC
     ทดแทนข้อเสียของผ้าทั้ง cotton และ Polyester ไปได้บ้าง เช่น

     1. ผ้าหดน้อยลงหรืออาจไม่หดเลย ( คุณสมบัติจาก Polyester )

     2. ดูดซับเหงื่อได้ดีกว่าผ้า Polyester ( คุณสมบัติจาก Cotton )

 

     ข้อเสียของผ้า TC และ ผ้า CVC

     คุณสมบัติเด่นของผ้าทั้ง cotton และ Polyester ก็จะถูกลดทอนลงไปด้วย เช่น

     1. เนื้อผ้าจะไม่เนียนสวยเท่า Cotton 100%

     2. ซักแล้วอาจจะย้วยบ้าง

 

     ผ้า TC และ CVC ( ผ้าผสม ) เหมาะกับทำเสื้อสำหรับในที่ร่ม ไม่ถึงกับออกแดดกลางแจ้งแต่ก็ไม่ต้องถึงกับอยู่ในห้องแอร์ หรือเหงื่อออกแค่พอประมาณ เพราะผ้าชนิดนี้สามารถดูดซับเหงื่อได้ดีพอประมาณ และระบายอากาศได้ดีพอสมควร

 

     เพียงเท่านี้เราก็รู้แล้วว่าควรเลือกผ้าอันไหนดีมาทำเสื้อยืดที่ต้องการ มาเลือกทำเสื้อยืดกับทางเรา ธน พลัส 153 ได้เลย เพียงขั้นต่ำ 100 ตัวขึ้นไปเท่านั้น ติดต่อได้ที่ด้านล่างนี้

ทางธนพลัสสามารถผลิตเสื้อยืด คอกลม คอวี เสื้อทรงoversize และสกรีนเพิ่มในเทคนิคต่างๆ ได้มากมาย ตอบทุกโจทย์การใช้งาน สร้างแบรนด์ เสื้อทีม เสื้อพนักงาน เสื้ออีเวนท์
ลูกค้าสามารถเช็คราคาผลิตเสื้อยืด ได้ที่หน้านี้
>>> ผลิตเสื้อยืด <<<

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *